post

ฟุตซอล ฟุตบอลโต๊ะเล็กที่คนไทยให้ความสนใจเป็นอย่างสูง

เวลาเราจะเล่นกีฬา เรื่องของสถานที่นั้นมีส่วนสำคัญในการเล่นไม่น้อย เพราะการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายจะต้องมีการเคลื่อนไหว จึงต้องมีการใช้พื้นที่ กีฬาอย่างฟุตบอลนั้นเล่นกันเป็นทีม ทีมละ 11 คน จึงต้องใช้สนามที่ใหญ่ ซึ่งอย่างในประเทศไทยเราสนามฟุตบอลก็มีอยู่ไม่กี่แห่ง สำหรับในต่างประเทศ เรื่องข้อจำกัดของสนามอาจจะน้อยกว่าบ้านเรา แต่ก็จะมีข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิอากาศ อย่างบางทีอากาศหนาวจัดมีหิมะตก จึงไม่สามารถออกมาเล่นฟุตบอลได้ ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ ทำให้มีการคิดค้นรูปแบบการเล่นฟุตบอลในร่ม และลดขนาดทีมให้เล็กลงเหลือทีมละ 5 คนขึ้นมา แล้วเรียกเกมฟุตบอลในร่มขนาดย่อมลงมานี้ว่า “ฟุตซอล” ซึ่งวันนี้จากกีฬาพื้นบ้านก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งกีฬาในระดับสากลไปแล้ว

รู้เรื่องฟุตซอลในมุมมองที่กว้างขึ้น

ด้วยรูปแบบการเล่นของฟุตซอลก็เหมือนกับฟุตบอลปกติ แต่ขนาดย่อมเยากว่า จึงทำให้กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงในอาเซียนและในประเทศโซนอเมริกาใต้ เนื่องจากว่าประเทศต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่จะมีประชากรในประเทศหนาแน่น ทำให้เรื่องพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดแข่งขันกีฬา ซึ่งฟุตซอลถือว่าตอบโจทย์ได้ในเรื่องนี้ จึงทำให้กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมในอาเซียนและประเทศทางอเมริกาใต้ สำหรับประเทศที่นำฟุตซอลมาแข่งขันกันอย่างเป็นทางการประเทศแรก ๆ ก็คือ อุรุกวัย คนไทยเราเรียกฟุตซอลว่า “ฟุตบอลโต๊ะเล็ก” ซึ่งฟุตบอลโต๊ะเล็กอย่างนี้ก็เป็นเวทีที่สร้างสุดยอดนักเตะระดับโลกมาแล้วหลายคน อย่างไข่มุกดำ เปเล่ หรือโซคราเตส ต่างก็เคยเป็นนักเตะฟุตซอลมาก่อนทั้งนั้น กีฬาชนิดนี้จึงเสมือนเวทีฝึกฝนทักษะฟุตบอลชั้นเยี่ยม และยังตอบโจทย์ข้อจำกัดกันมากมายของฟุตบอลได้เป็นอย่างดีด้วย

จุดเริ่มต้นฟุตซอลในประเทศไทย

สำหรับฟุตซอลในประเทศไทยจริง ๆ ก็มีมานานแล้ว เพียงแต่อาจจะเป็นการเล่นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ พอทางต่างประเทศกำหนดรูปแบบกติกาการเล่นแบบสากลออกมา ไทยเราจึงมีการผลักดันฟุตบอลโต๊ะเล็ก จากการเล่นข้างทาง ขึ้นมาสู่การเล่นอินดอร์ในร่มอย่างเต็มตัว แถมยังมีโต๊ะรับพนันเกิดขึ้นมากมายอีกด้วย ซึ่งมีการจัดแข่งขันฟุตซอลอย่างเป็นทางการในรูปแบบการเล่นระดับสากลครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมฟุตบอล ภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้ฟุตซอลไทยไปสู่ระดับสากลให้ได้ จึงได้มีการจัดแข่งกำหนดกติกาตามแบบสากลขึ้นมา คือ ให้มีนักเตะทีมละ 5 คน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดีทีเดียว และเมื่อเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากพอสมควร จึงมีการทุ่มงบเร่งผลักดัน จนในอีก 3 ปีถัดมาไทยก็ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดศึกแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียด้วย ซึ่งในรายการนี้ไทยก็ทำได้ดี คว้าอันดับ 3 มาครอง นี่จึงเป็นการสะท้อนว่าไทยเรามีความหวังกับฟุตซอลไม่น้อยนับเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ไทยเราโชว์ฝีเท้าทำผลงานเยี่ยมในระดับเอเชียเลยทีเดียว

อาจเป็นเพราะบริบททางสังคมและสภาพแวดล้อมหลาย ๆ อย่างที่ส่งเสริมให้ฟุตซอลไทยเรามีความพร้อมและความโดดเด่นขึ้นมา นั่นจึงทำให้ฟุตซอลนับเป็นกีฬาลูกกลม ๆ อีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ซึ่งกีฬาชนิดนี้ก็หานักกีฬาในระดับเยาวชนที่จะมาปั้นเป็นดาวรุ่งได้ง่ายด้วย ไทยเราจึงต้องเอาใจช่วยผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ไปให้ไกลกว่านี้ไม่แน่ไทยเราอาจเป็นเจ้าและสุดยอดแชมป์ของกีฬาชนิดนี้ก็ได้

post

ตะกร้อลอดห่วง กีฬาไทยสู่กีฬาสากลในอาเซียน

การเล่นกีฬาไม่ว่าจะเป็นแบบหมู่คณะเล่นเป็นทีม หรือเล่นแบบเดี่ยวก็ตาม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ประการแรกดีต่อสุขภาพร่างกายของผู้เล่น ประการต่อมาได้เพิ่มพูนทักษะการทำงานของร่างกายและสมอง ประการสุดท้ายยังได้เรื่องของความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและมิตรไมตรีจากผู้ที่ร่วมเล่นหรือคู่แข่งขันอีกด้วย ซึ่งหนึ่งชนิดกีฬาที่น่าสนใจเป็นกีฬาแบบไทย ๆ ที่ได้รับความสนใจในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศก็คือ “ตะกร้อลอดห่วง” ปัจจุบันเป็นหนึ่งในกีฬาสากลที่มีแข่งในระดับซีเกมส์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการผลักดันให้ไปสู่ระดับเอเชียนเกมส์กันด้วย ลองมาทำความรู้จักกับกีฬายอมนิยมของไทยและอาเซียนชนิดนี้กันให้มากขึ้นกันดีกว่า

ตะกร้อลอดห่วงกับกติกาพื้นฐานเรื่องสนามและอุกรณ์

การเล่นตะกร้อลอดห่วงนั้น จะต้องอาศัยสนามในการเล่น และจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเล่นด้วย ซึ่งหลัก ๆ แล้วที่เราต้องรู้ในเรื่องกติกาการเล่นจะมีอยู่ 3 ประการคือ

  1. สนามที่ใช้ในการเล่นตะกร้อลอดห่วง – ถ้าเป็นการเล่นในระดับสากลแล้ว ไม่ได้จำกัดว่าจะเล่นในร่มหรือกลางแจ้ง แต่พื้นสนามจะต้องเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ โดยพื้นที่กำหนดให้จะต้องมีรัศมีวงกลมอยู่ที่ 4  เมตรและความกว้างของเส้นวงกลมจะอยู่ที่ 4 เซนติเมตร
  2. ห่วงชัย – ถ้าเทียบกับฟุตบอลแล้ว ห่วงชัยก็คือประตูที่จะต้องยิงลูกเข้าไปนั่นเอง โดยในตะกร้อลอดห่วงกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า จะใช้ 3 ห่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ทั้ง 3 ห่วงต้องมีการเชื่อมเข้าหากัน และจะต้องมีถุงตาข่าย ซึ่งห่วงชัยนี้จะต้องแขวนอยู่ที่กลางสนามแข่งขัน โดยสูงจากพื้นขึ้นมา 4.75  เมตรสำหรับการแข่งขันของผู้ชาย และ 4.50  เมตร สำหรับการแข่งขันของผู้หญิง
  3. ลูกตะกร้อ – จะใช้ลูกหวายหรือลูกใยสังเคราะห์ก็ได้ แต่กรณีที่เป็นลูกใยสังเคราะห์จะต้องเป็นชนิดที่มีรู 12 รู และ 20 จุดที่ตัดไขว้กัน

กติกาในส่วนของผู้เล่น

ตะกร้อลอดห่วงที่เล่นแข่งขันกันเป็นกีฬาแบบสากลนั้น จะกำหนดให้เล่นเป็นทีม โดย 1 ทีมจะต้องมีผู้เล่นจริง 5 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน การเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้น สามารถเปลี่ยนระหว่างเกมได้ ส่วนการนับแต้มคะแนนว่าใครทำคะแนนได้เท่าไหร่ ก็จะเป็นการนับคะแนนต่อจากผู้ที่ถูกเปลี่ยนออก ส่วนตัวผู้เล่นก็จะต้องสวมชุดสำหรับการเล่นตะกร้อคือ มีเสื้อยืด จะคอปกหรือคอกลมก็ได้ และที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อจะต้องมีเลขกำกับ เพื่อใช้เป็นหมายเลขประจำตัว สวมกางเกงขาสั้น สวมถุงเท้า รองเท้าผ้าใบพื้นยางไม่มีส้น และในการแข่งขันจริง ทีมแต่ละทีมที่จะลงแข่งกันจะต้องใส่เสื้อสีไม่เหมือนกันด้วย เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และง่ายต่อการต่อการตัดสินนั่นเอง

ทั้งหมดนี้ก็คือกฎกติกาพื้นฐานของตะกร้อลอดห่วง หนึ่งในกีฬาพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในท้องถิ่นของไทย และได้รับความนิยมในระดับภูมิภาคด้วย ซึ่งการได้เข้าไปเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาในระดับซีเกมส์ก็คงเป็นเครื่องยืนยันได้แล้วว่ากีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมมากขนาดไหน ใครสนใจก็ลองศึกษากติกาพื้นฐานเหล่านี้และลองฝึกเล่นดู แล้วคุณจะรู้ว่าเล่นแล้วก็เพลินไม่น้อยเลย

post

กีฬาอะไรที่ตัวเล็ก…..แต่ใจใหญ่ ตัวใหญ่ๆ…..อาจล้มดัง

เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีกับกีฬาพื้นบ้านไทยเรา ที่ทุกการแข่งขันแต่ละที่ แต่ละรายการนั้นจัดขึ้นจะต้องมีกีฬาชนิดนี้อยู่ด้วย นั่นก็คือกีฬา “ ชักกะเย่อ ” เป็นกีฬาไทยพื้นบ้านที่มีมาช้านาน เพราะทุก ๆ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาท้องถิ่น กิจกรรมประจำปี ประเพณีกีฬาต่าง ๆ ที่ได้ถือเอากีฬาชักกะเย่อนั้นเข้ามาแข่งขัน เป็นกีฬาที่เน้นการใช้แรงเพื่อแข่งขันกับคู่ต่อสู้อีกฝั่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ ลักษณะของการแข่งขันนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เป็นการแข่งขันที่ตัดสินได้ทันที และชัดเจนแม่นยำ จากการประลองฝีมือของผู้เล่นทั้งสองทีมนั่นเอง

เข้าที่….ระวัง…….. ปี๊ดดดดดดดดด สิ้นเสียงสัญณาณนกหวีดกรรมการแล้วนั้นจะบังเกิดแต่ความครึกครื้นสนุกสนานไปกับการลุ้น ทั้งกองเชียร์และผู้เล่นเอง โดยเฉพาะกองเชียร์ที่เป็นแรงกำลังสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการแข่งขันกีฬาประเภทนี้ โดยในการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีผู้เล่นอยู่ด้วยกัน 2 ทีม ทีม ละ 8 คน โดยแบ่งออกเป็นสองฝั่งหลังเส้นที่กรรมการกำหนด อุปกรณ์ในการเล่นคือ เชือกขนาดใหญ่และยาวประมาณ 30 กว่าเซนติเมตรได้ จำนวน 1 เส้นมีเชือกทำสัญลักษณ์ตรงกลาง และถัดจากตรงกลางกับมีเส้นพื้นที่สีแดงของแต่ละฝั่งที่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร เพราะกติกาที่ว่า ให้ทั้งสองทีมดึงเชือกเส้นเดียวกัน หากเส้นสีแดงของทีมไหนมาถึงจุดตรงกลางที่กรรมการยืนก่อนทีมนั้นเป็นผู้แพ้ และทำการแข่งขันแต่ละคู่ จะแข่งจำนวน 3 ครั้ง ตัดสินจำนวนครั้งที่ชนะ ทั้งนี้กีฬาชักกะเย่อนี้หากมีหลายทีมก็จะทำการจับฉลากและแบ่งสายคัดเลือกเพื่อเข้ารอบลึก ๆ เพื่อหาผู้ชนะ ที่การแข่งขันรายการนี้ด้วยวิธีนับครั้งหรือนับคะแนนก็ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของแต่ละที่ที่จะกำหนดให้เกิดความเหมาะสม

ใช่ว่าคนตัวเล็กจะแรงน้อย กว่าคนตัวใหญ่เสมอไป พริกขี้หนูยังเผ็ดกว่าพริกหวานลูกใหญ่จริงไหมทุกคน ?

อะไรคือเทคนิคในการเล่นกีฬาประเภทนี้ ที่จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน นอกจากรูปร่างสรีระแล้วสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งอันเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันชักกะเย่อ คือ จังหวะ บอกได้เลยว่า เป็นกีฬาที่ต้องคล้ายกับว่ามีหัวใจเป็นศิลปินเพราะ จังหวะมีผลอย่างไรต่อการแข่งขันกีฬาประเภทนี้ ต่อให้คู่แข่งขันจะเก่ง ตัวใหญ่ แรงเยอะขนาดไหน ก็ประมาทจังหวะที่แม่น และหึกเหิมของทีมตัวเองได้ จากกิจกรรมการแข่งขันที่ผ่านมาทีมที่ได้เปรียบคือทีมที่มีจังหวะในการดึงที่สม่ำเสมอ รวมพลังเปล่งเสียงออกมาอย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างไม่ขาดจังหวะ การก้าวขา การดึงมือ ที่ใช้จังหวะในการช่วยเปลี่ยนนั้นทำให้เปรียบประหนึ่งว่าแรงดึงของทีมมีแรงเดียวและเป็นแรงที่รวมกันหลาย ๆ แรงกระชากครั้งเดียวด้วยพละกำลังมหาศาล แปลว่าสามารถเอาชนะแรงแรง ๆ น้อย ๆ ที่ประปรายอยู่ในทีม ไม่พร้อมเพรียงกัน เกิดจากการขาดการนับจังหวะนั่นเอง ทำให้มีที่มาว่าทำไมหลาย ๆ ทีมที่มีผู้แข่งขันรูปร่างใหญ่แต่แพ้ทีมที่รูปร่างน้อยกว่า นั่นเป็นเพราะขาดจังหวะในหัวใจนั่นเอง

post

ฮุ่ย เล่ ฮุ่ย ฮุ่ย เล่ ฮุ่ย ….. เสียงเรียกแห่งพลัง ความขลังอันทรงคุณค่ากับกีฬามรดกไทย

กีฬาเรือพาย เป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อไหมว่าเป็นกีฬาที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นกีฬาที่ทำการแข่งขันกันบางพื้นที่ บางจังหวัด หรือเป็นประเพณีที่มีไม่ได้มีทั่วทุกภาค จะมีก็แต่เฉพาะพื้นที่ที่อยู่ติดแม่น้ำลำคลอง เลียบแม่น้ำ หรือพื้นที่ทำการสืบสานประเพณีการแข่งขันเรือพายมาตั้งแต่สมัยโบราณ  สืบสานมากันยาวนานและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กีฬาประเภทนี้สูญหายไป จึงทำให้เกิดการแข่งขันกีฬาประเภทนี้อยู่ทุกปี และถ่ายทอดไปยังผู้รับชมทั่วทั้งประเทศ ทำให้กีฬานี้เป็นที่รู้จักกันมากในสังคมไทย 

ทำไมหลายพื้นที่ไม่ได้มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่รู้จัก และติดตามหรือชื่นชอบในเกมส์กีฬาที่แข่งขันนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะว่ากีฬาประเภทนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของการแข่งขันที่น่าตื่นเต้น หากพูดถึงความตื่นเต้น แน่นอนว่าการที่เรือหนึ่งลำและมีฝีพายอยู่ในเรือนั้น ทำการแข่งขันกันในสายน้ำที่เจิ่งนอง บางที่ก็ไหลเชี่ยวกราด บางที่ก็นิ่งไหลลึก ทำให้ผู้คนที่รอชมตื่นเต้นไปกับการวางตัวผู้เล่นหรือฝีพาย การวางแผนการพายที่ต้องอาศัยทักษะ ความเชี่ยวชาญ ปฏิภาณไหวพริบ รวมไปถึงความสมัครสมานสามัคคี พละกำลังของฝีพายในการพายเรือเพื่อประคับประคองเรือให้ไปถึงจุดหมายที่เรียกว่าเส้นชัยโดยเร็วที่สุด จะถือว่าเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้รูปแบบการแข่งขัน กติกาแต่ละที่แต่ละแห่งก็มีมากมายหลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งเส้นทาง ระยะทางที่ใช้แข่งขัน จำนวนผู้เล่นที่จะให้แข่งขัน สถานที่รวมไปถึงระยะเวลาด้วย ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมและความสนุกสนาน

นอกจากฝีพายเก่ง ๆ ก็มีฝีปากกล้าของนักพากย์นี่แหละที่ทำให้คนไทยรู้จักกีฬาประเภทนี้

ในส่วนของการแข่งขันกีฬาชนิดนี้จะมีผู้คนรอชมรอเชียร์จำนวนมากทั้งในสถานที่จริง และหน้าจอโทรทัศน์ที่ทำการถ่ายทอดสดในปัจจุบัน แน่นอนว่าความสนุกสนานและครึกครื้นนั้นจะสังเกตได้จากกองเชียร์ที่มีอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้แล้วสีสันที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือนักพากย์ฝีปากกล้าที่จะต้องมีในการแข่งขันกีฬาประเภทนี้ เพราะนอกจากบรรยากาศการแข่งขันที่สนุกลุ้นอยู่ตลอดเวลาแล้วยังมีแรงกระตุ้นจากนักพากย์นี่แหละที่จะทำให้เกิดความสนุกสนานและตื่นเต้นอีกเท่าตัว เพราะนักพากย์เองนั้น จะเป็นเหมือนกระบอกเสียงดึงความสนใจให้คนอยู่ในเกมส์การแข่งขันตลอด เปรียบเสมือนคนพาให้เกมส์นั้นน่าสนใจและดึงคนได้ตลอดเวลา เพราะสิ่งที่นักพากย์นั้นต้องมีคือความพิเศษในเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องจดจำ ต้องมีข้อมูลและความรู้ อีกทั้งต้องเป็นคนที่มีคารม เลือกหาเลือกใช้คำที่สะดุดหู ฟังแล้วสะกิดใจและน่าจดจำ ฉะนั้นนักพากย์ในการแข่งขันที่จะทำให้ดูเหมือนว่าการแข่งขันกีฬาประเภทนี้จะขาดไม่ได้เสียเลยทีเดียว เพราะนอกจากการชมกีฬานี้แล้ว ความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ ความรักสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการถ่ายทอดถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับแม่น้ำ การได้พึ่งพาอาศัยกันในครั้งนั้นตั้งแต่อดีตโบราณนานมา ทำให้เกิดประเพณีที่ทำต่อเนื่องกันมาโดยการสืบทอดของรุ่นลูกรุ่นหลาน ด้วยความหมายที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคนไทย จึงทำให้วงการเรือพายมีการขยายวงกว้างไปสู่ระดับประเทศและระดับนานาชาติอีกด้วย

post

กีฬาในตำนาน ขับขานสู่รุ่นต่อรุ่น

หากจะพูดถึงกีฬาที่เป็นที่นิยมในกลุ่มเด็กหรือเยาวชนยุคก่อนนั้น ไม่มีใครไม่รู้จัก กีฬาวิ่งเปี้ยวที่เป็นกีฬาของคนในยุคก่อน ๆ ที่สังคมจะพัฒนามารับอิทธิพลจากกีฬาต่างชาติหรือกีฬาสากลเข้ามาเล่นกันในช่วงนั้น เป็นกิจกรรมที่เมื่อก่อนกีฬาพื้นบ้านซึ่งในยุคนั้นกีฬาสากลในไทยมีน้อยมาก หากมีแต่กีฬาพื้นบ้านที่นิยมกันมากที่สุดในตอนนั้น อีกทั้งกีฬาที่สามารถดึงความสนใจหรือดึงดูดให้เด็ก ๆ ได้มาอยู่ร่วมกันได้แล้วนั้นถือว่าเป็นกีฬาที่มีอยู่และนิยมมากกันเลยทีเดียว   นอกจากนี้ยังต้องเป็นกีฬาที่ได้ฝึกทักษะฝึกไอคิวฝึกความคิดฝึกสมองในเรื่องของการใช้สติปัญญา ไหวพริบปฏิภาณและการแก้ไขปัญหารวมไปถึงสภาวะทางอารมณ์ได้ดีด้วย

ในสมัยก่อนที่ประเทศไทยไม่ได้มีการพัฒนาในเรื่องของอุปกรณ์ในการเล่นกีฬามากนักจึงทำให้กีฬาในยุคนั้นมีลักษณะน้อยชิ้นเน้นจำนวนคนหรือปริมาณคนเป็นส่วนมาก ซึ่งจะทำให้กีฬาชนิดนั้น ๆ มีความน่าสนใจครึกครื้นตื่นเต้นดึงดูดให้ผู้เล่นแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน กีฬาวิ่งเปี้ยวเป็นกีฬาที่ใช้จำนวนคนในการเล่นค่อนข้างมากเพราะเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันในลักษณะของการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย ฟังดูเหมือนมีความรุนแรงยังไงอย่างนั้น?? แต่ไม่เลย!! กล่าวคือจะมีแบ่งเป็นสองทีมทีมละจำนวนคนเท่า ๆ กันแล้วให้ใช้อุปกรณ์ที่เป็นไม้กระบองหรือผ้าที่แต่ละทีมจะมีคนละ 1 ชิ้น เป้าหมายหลักในการแข่งขันนี้เพื่อชัยชนะก็คือการที่ทีมใดทีมหนึ่งไปตีวิ่งไล่กันผ่านเสาสองต้นแล้วไล่ตีหรือสัมผัสกัน โดยใช้อุปกรณ์ที่ถืออยู่นั้นฝ่ายไหนถูกตีถือว่าเป็นทีมแพ้ไป ฝ่ายที่ตีได้ก็เป็นคนชนะ

วิ่ง วิ่ง วิ่ง วิ่งแล้วไม่เหนื่อย วิ่งอะไร ยิ่งวิ่งยิ่งสนุก

ฟังดูแล้วก็ดูง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ค่อยมีอะไรมาก กับกีฬาประเภทนี้ แต่บอกได้เลยว่าความสนุกสนานและตื่นเต้นนั้นถ้าไม่เคยเล่นต้องไปลองข้อมูลดูและลองชมวิธีการเล่นรับรองว่าจะเกิดไอเดียและความน่าสนใจจากความสนุกสนานที่เกิดจากกีฬานี้เป็นอย่างมาก เพราะแน่นอนว่านอกจากประโยชน์ที่ได้นั้นคือการได้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งแล้ว ยังบ่งบอกถึงความสามารถของทีมหนึ่งเรื่องของความสามัคคีเรื่องของทักษะความสามารถในการวิ่งโดยที่ทุกส่วนในร่างกายต้องมีความสัมพันธ์กันจึงจะทำให้ทีมชนะได้นอกเหนือจากการแข่งขันที่เพื่อการแพ้ชนะแล้วยังเป็นกีฬาที่สร้างความตื่นตัวสนุกสนานครื้นเครง สร้างอารมณ์ให้กับผู้ชมและตัวผู้เล่นด้วยหากจะกล่าวถึงในปัจจุบันการใช้รูปแบบการเล่นกีฬาวิ่งเปี้ยวมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยก็เห็นจะเป็นไปได้อยู่มากมาย ทั้งการเอานำมาใช้เพื่อเป็นกิจกรรมยามว่าง หรือสอดแทรกในกิจกรรมการให้สาระเรื่องของการออกกำลังกาย การเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าด้วยกันโดยใช้กิจกรรมออกแนวกึ่งสันทนาการ เพราะอีกอย่างกีฬาประเภทนี้นอกจากจะเป็นกีฬาที่สร้างสุขภาพกายและใจแล้วยังเป็นกีฬาที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในหมู่คณะ ของกลุ่มเด็ก และเยาวชนที่อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอีกด้วย