post

ฟุตซอล ฟุตบอลโต๊ะเล็กที่คนไทยให้ความสนใจเป็นอย่างสูง

เวลาเราจะเล่นกีฬา เรื่องของสถานที่นั้นมีส่วนสำคัญในการเล่นไม่น้อย เพราะการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายจะต้องมีการเคลื่อนไหว จึงต้องมีการใช้พื้นที่ กีฬาอย่างฟุตบอลนั้นเล่นกันเป็นทีม ทีมละ 11 คน จึงต้องใช้สนามที่ใหญ่ ซึ่งอย่างในประเทศไทยเราสนามฟุตบอลก็มีอยู่ไม่กี่แห่ง สำหรับในต่างประเทศ เรื่องข้อจำกัดของสนามอาจจะน้อยกว่าบ้านเรา แต่ก็จะมีข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิอากาศ อย่างบางทีอากาศหนาวจัดมีหิมะตก จึงไม่สามารถออกมาเล่นฟุตบอลได้ ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ ทำให้มีการคิดค้นรูปแบบการเล่นฟุตบอลในร่ม และลดขนาดทีมให้เล็กลงเหลือทีมละ 5 คนขึ้นมา แล้วเรียกเกมฟุตบอลในร่มขนาดย่อมลงมานี้ว่า “ฟุตซอล” ซึ่งวันนี้จากกีฬาพื้นบ้านก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งกีฬาในระดับสากลไปแล้ว

รู้เรื่องฟุตซอลในมุมมองที่กว้างขึ้น

ด้วยรูปแบบการเล่นของฟุตซอลก็เหมือนกับฟุตบอลปกติ แต่ขนาดย่อมเยากว่า จึงทำให้กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงในอาเซียนและในประเทศโซนอเมริกาใต้ เนื่องจากว่าประเทศต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่จะมีประชากรในประเทศหนาแน่น ทำให้เรื่องพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดแข่งขันกีฬา ซึ่งฟุตซอลถือว่าตอบโจทย์ได้ในเรื่องนี้ จึงทำให้กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมในอาเซียนและประเทศทางอเมริกาใต้ สำหรับประเทศที่นำฟุตซอลมาแข่งขันกันอย่างเป็นทางการประเทศแรก ๆ ก็คือ อุรุกวัย คนไทยเราเรียกฟุตซอลว่า “ฟุตบอลโต๊ะเล็ก” ซึ่งฟุตบอลโต๊ะเล็กอย่างนี้ก็เป็นเวทีที่สร้างสุดยอดนักเตะระดับโลกมาแล้วหลายคน อย่างไข่มุกดำ เปเล่ หรือโซคราเตส ต่างก็เคยเป็นนักเตะฟุตซอลมาก่อนทั้งนั้น กีฬาชนิดนี้จึงเสมือนเวทีฝึกฝนทักษะฟุตบอลชั้นเยี่ยม และยังตอบโจทย์ข้อจำกัดกันมากมายของฟุตบอลได้เป็นอย่างดีด้วย

จุดเริ่มต้นฟุตซอลในประเทศไทย

สำหรับฟุตซอลในประเทศไทยจริง ๆ ก็มีมานานแล้ว เพียงแต่อาจจะเป็นการเล่นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ พอทางต่างประเทศกำหนดรูปแบบกติกาการเล่นแบบสากลออกมา ไทยเราจึงมีการผลักดันฟุตบอลโต๊ะเล็ก จากการเล่นข้างทาง ขึ้นมาสู่การเล่นอินดอร์ในร่มอย่างเต็มตัว แถมยังมีโต๊ะรับพนันเกิดขึ้นมากมายอีกด้วย ซึ่งมีการจัดแข่งขันฟุตซอลอย่างเป็นทางการในรูปแบบการเล่นระดับสากลครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมฟุตบอล ภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้ฟุตซอลไทยไปสู่ระดับสากลให้ได้ จึงได้มีการจัดแข่งกำหนดกติกาตามแบบสากลขึ้นมา คือ ให้มีนักเตะทีมละ 5 คน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดีทีเดียว และเมื่อเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากพอสมควร จึงมีการทุ่มงบเร่งผลักดัน จนในอีก 3 ปีถัดมาไทยก็ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดศึกแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียด้วย ซึ่งในรายการนี้ไทยก็ทำได้ดี คว้าอันดับ 3 มาครอง นี่จึงเป็นการสะท้อนว่าไทยเรามีความหวังกับฟุตซอลไม่น้อยนับเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ไทยเราโชว์ฝีเท้าทำผลงานเยี่ยมในระดับเอเชียเลยทีเดียว

อาจเป็นเพราะบริบททางสังคมและสภาพแวดล้อมหลาย ๆ อย่างที่ส่งเสริมให้ฟุตซอลไทยเรามีความพร้อมและความโดดเด่นขึ้นมา นั่นจึงทำให้ฟุตซอลนับเป็นกีฬาลูกกลม ๆ อีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ซึ่งกีฬาชนิดนี้ก็หานักกีฬาในระดับเยาวชนที่จะมาปั้นเป็นดาวรุ่งได้ง่ายด้วย ไทยเราจึงต้องเอาใจช่วยผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ไปให้ไกลกว่านี้ไม่แน่ไทยเราอาจเป็นเจ้าและสุดยอดแชมป์ของกีฬาชนิดนี้ก็ได้

post

อยากเอาจริงเอาจังกับ ฟุตซอล ต้องเริ่มต้นจากทักษะพื้นฐานที่ดี

จริง ๆ แล้วฟุตซอลก็คือ การเล่นฟุตบอลกันดี ๆ นี่เอง เพียงแต่รูปแบบสนามและวิธีการเล่นจะเปลี่ยนไปบ้างเนื่องจาก ขนาดสนามเล็กลง จำนวนผู้เล่นน้อยลง จึงทำให้เกมเกิดการเล่นที่รวดเร็ว การยิ่งประตูเกิดขึ้นได้ง่าย สไตล์ของฟุตซอลจึงเป็นเกมเร็ว กระชับ ทำประตูกันได้ภายในเสี้ยวนาที ทักษะการเล่นจึงมีความแตกต่างกับการเล่นฟุตบอลอยู่พอสมควร แต่ใครที่อยากเล่นฟุตซอลให้เก่ง ทักษะพื้นฐานเรื่องของการเล่นบอลนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องมีการฝึกฝนทักษะพื้นฐานเหล่านี้กันให้ดี ถึงจะทำให้การเล่นฟุตซอลของคุณออกมาดี ที่สำคัญการฝึกฝนนี้จะฝึกเพียงใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนทักษะเหล่านี้กันทั้งทีม เพื่อทุกคนในทีมสามารถที่จะเล่นเข้าขากัน มาดูกันดีกว่าว่ามีทักษะพื้นฐานอะไรบ้างที่นักฟุตซอลควรจะต้องรู้

ทักษะสำคัญในการเล่นฟุตซอลที่ 1 – ทักษะในการควบคุมลูกบอล

การควบคุมลูกบอลหรือการบังคับบอลให้ได้ดั่งใจนั่นเป็นสิ่งสำคัญมากในการเล่นฟุตซอล สิ่งแรกที่คุณควรจะต้องเริ่มฝึกฝนเลยก็คือ

  • สร้างความคุ้นเคย – เป็นการทำให้ร่างกายเคยชินกับลูกฟุตบอล การฝึกฝนก็ทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่ การวางเท้าบนลูกฟุตบอล จากนั้นลองคลึงลูกบอลไปทั่วทั้งเท้า สลับหน้าหลังบ้าง สลับด้านนอกด้านในซ้ายขวาบ้าง โดยให้เริ่มทำแบบอยู่กับที่ก่อน พอเริ่มชินก็ให้ลองเคลื่อนที่ช้า ประคองลูกบอลไว้โดยให้คลึงบอลไว้เหมือนเดิม หลังจากนั้นลองเปลี่ยนมาใช้ฝ่าเท้าตบลูก เริ่มจากเบา ๆ ไปหาหนักจนลูกบอลกระดอนขึ้นลง ทำซ้ายขวาสลับกัน
  • ควบคุมและหยุดบอล – การหยุดบอลนั้นทำได้หลายวิธีมาก ตั้งแต่การหยุดด้วยฝ้าเท้า หยุดด้วยเท้าด้านใน หยุดด้วยเท้าด้านนอก หยุดด้วยเข่าหรือหน้าขา หยุดด้วยหลังเท้า เริ่มต้นฝึกก็อาจจะเตะและวิ่งตามบอลไปหยุดบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ที่กล่าวมา และถ้าเป็นการซ้อมกับเพื่อนก็ให้ส่งลูกกันและหยุดบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ดู ก็จะทำให้ควบคุมบอลได้ดีขึ้น

ทักษะสำคัญในการเล่นฟุตซอลที่ 2 – การทรงตัวและการเคลื่อนที่

  • การทรงตัว – ทักษะนี้เป็นพื้นฐานของกีฬาทุกชนิด สำหรับฟุตซอลแล้วการฝึกก็ง่าย ๆ ให้ใช้เท้าทรงตัวในลักษณะที่แตกต่างกันไป ทรงตัวด้วยเท้าทั้งสอง หรือสลับเท้าใดเท้าหนึ่งยกพ้นพื้นบ้าง วิ่งตามฟุตบอลบ้าง วิ่งซิกแซ็กบ้าง ก็จะช่วยให้เวลาเล่นจริงเราสามารถทรงตัวในมุมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
  • การเคลื่อนที่ – การฝึกก็ทำได้หลายแบบง่ายที่สุดก็คือ ให้วางลูกบอลไว้ข้างหน้าให้ห่างจากเท้าไปเล็กน้อย ลองถ่ายน้ำหนักไปที่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ จากนั้นเคลื่อนที่ให้เร็วไปหาบอลที่วางไว้ ฝึกสลับไปมาหลาย ๆ ทิศทางก็จะทำให้เคลื่อนที่ได้คล่องตัว

เหล่านี้เป็นแนวทางฝึกฝนทักษะพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่นฟุตซอล ซึ่งใครที่สนใจอยู่แล้วและต้องการแบบฝึกหัดเอาไปใช้ฝึกฝนตนเองและทีมก็ลองนำพื้นฐานเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้เลย เชื่อว่าคงจะทำให้ทักษะการเล่นฟุตซอลของคุณและทีมดีขึ้นอย่างแน่นอน

post

กรีฑา กีฬายอดนิยมของคนทั่วโลกที่มีตำนานถึงยุคกรีกโรมัน

มนุษย์เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นธรรมดาของชีวิตอยู่แล้ว เราต้องเดินต้องวิ่งหรือกระโดดกันเป็นชีวิตประจำวันกันมาตั้งแต่มนุษย์ยุคเริ่มแรกถือกำเนิด เพียงแต่ว่า เราไม่ได้มีการกำหนดเป็นรูปแบบการแข่งขันกันอย่างชัดเจน ซึ่งทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน อย่างเดิน วิ่ง กระโดด การโยน พุ่ง ทุ่มเหล่านี้ เริ่มมีการนำมาจัดเป็นหมวดหมู่และทำการแข่งขันกันในตอนที่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรม ซึ่งมีการสันนิษฐานกันว่า เริ่มต้นให้มีการจัดแข่งขันกันในยุคกรีกโรมัน ที่กล่าวมานี้ก็คือ จุดเริ่มต้นของกีฬายอดนิยมทั้งของไทยและสากลอย่าง “กรีฑา” นั่นเอง

กรีฑาเคยเป็นหนึ่งในพิธีกรรมในการบางสรวงเหล่าทวยเทพ

จริง ๆ แล้วการกำเนิดขึ้นของกีฬากรีฑานั้นอาจจะเก่าแก่และย้อนไปไกลกว่ายุคกรีกโรมันก็เป็นไปได้ เพียงแต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ชัดเจนและเราก็ไม่มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่ากว่ายุคกรีกโรมัน เราจึงสันนิษฐานจุดตั้งต้นของกรีฑาว่าเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในช่วง 776 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในตอนนั้นชาวกรีกไม่ได้จัดเป็นการแข่งขันเหมือนในปัจจุบัน กรีฑาในยุคนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมการบวงสรวงเทพเจ้า ที่พวกเขาเชื่อว่าทรงสถิตอยู่ ณ เทือกเขาโอลิมปัส การให้เกียรติแก่เทพเจ้า มนุษย์จึงควรมีการละเล่นเพื่อถวายแด่เทพ อีกทั้งทางฝั่งกษัตริย์แห่งกรีกในยุคนั้นเองก็เป็นห่วงเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชน เพราะบางปีก็จะมีโรคระบาด ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะเทพเจ้าพิโรธ จึงคิดกันว่าวิธีการที่จะทำให้เทพเจ้าพอใจก็ต้องมีการจัดการเล่นกีฬา ก็คือ การแข่งขันกรีฑานั่นเอง

ในตอนนั้นกรีฑาก็มีการแบ่งประเภทออกมาเป็น 5 ประเภทแล้ว นั่นคือ จะมีการวิ่ง การแข่งกระโดด มีการพุ่งแหลม ขว้างจักร และมีมวยปล้ำอยู่ด้วย แต่ในเวลาต่อมาเมื่อกรีกเสื่อมอำนาจและต้องมาอยู่ใต้การควบคุมของชาวโรมัน การเล่นกรีฑาก็เสื่อมความนิยมลงไป ส่วนหนึ่งเพราะชาวโรมันไม่นิยมให้ชาวเมืองเล่นเนื่องจากกีฬามีส่วนเกี่ยวพันกับการเล่นพนัน นั่นจึงทำให้กรีฑาเริ่มถูกลืมเลือนไปในช่วงโรมันเรื่องอำนาจ

การกลับมาอีกครั้งของกรีฑาในฐานะกีฬาสำคัญของโอลิมปิก

คิดเป็นระยะเวลาร่วม 1500 ปีเลยทีเดียวที่กรีฑาถูกกลบไว้ให้หลับใหลอยู่แบบนั้น หลังจากโรมันล่มสลาย สงครามเกิดขึ้นอีกหลายครั้งมากมาย แต่ในเวลาต่อมาชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งก็เป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้ประชาคมโลกได้หันมาสนในเรื่องกีฬา และเขามีความคิดที่จะฟื้นฟูนำกีฬาโบราณกลับมา แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและมีการสานต่อไปในระดับโลก หลาย ๆ ประเทศเริ่มเกิดการประชุมและลงความเห็นว่าควรจะให้มีกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ ให้กีฬาเป็นสิ่งสานสัมพันธ์ประเทศต่าง ๆ ในโลก จึงทำให้เกิดการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งทุกฝ่ายลงความเห็นว่ากีฬาหลักที่จะนำมาแข่งกันในโอลิมปิกก็ควรจะเป็นกีฬาที่ถูกฝังกลบไว้นานนับพันปีอย่างกรีฑานั่นเอง นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นการคืนชีพของกรีฑา และในประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลการแข่งขันนี้มาจากประเทศตะวันตก ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ยังให้ความสนใจและให้การสนับสนุน นั่นจึงทำให้เรามีนักกรีฑารุ่นใหม่ ๆ อยู่มาโดยตลอดเวลา

การเล่นกรีฑานั้นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการแข่งขันเท่านั้น แต่สำหรับบุคคลทั่วไปในไทย ก็มีความผูกพันอยู่กับกรีฑาอย่างไม่รู้ตัว อย่างการวิ่งซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมสูงมาก มีการจัดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วย จึงนับว่านี่คือกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาเนิ่นนานจริง ๆ

post

“ลีลาศ” กีฬาอาจไม่ฮิตเท่าบอลแต่กลุ่มคนที่รักก็เหนียวแน่น

กีฬาลีลาศ อาจจะเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นกีฬาเต้นรำ แม้จะไม่ได้ฮิตเหมือนกีฬาระดับโลกหลายชนิด ๆ แต่ก็นับว่ามีคนกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยที่หลงใหลชื่นชอบ ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็รักอย่างเหนียว และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาสู่การกีฬาชนิดนี้ได้เหมือนกัน ด้วยลีลาท้าวงท่าที่เยื้องกรายไปของคู่เต้นทำให้เกิดภาพศิลป์อันงดงามอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งลีลาศนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการเต้นรำไปตามจังหวะเพลง ให้เกิดความสนุกสนานและเกิดความงดงามเท่านั้น แต่ลีลาศได้แฝงคุณประโยชน์ไว้ในศิลปะการเต้นมากมายทีเดียว

ลีลาศการออกกำลังกายที่ได้เรื่องของกิจกรรมสังคมควบคู่

การเต้นรำแบบลีลาศใครคิดว่าไม่เหนื่อย นั่นแสดงว่าคุณยังไม่เคยทดลองเล่นลีลาศเลยสักครั้งแน่ ๆ สำหรับใครที่เคยลองและมีประสบการณ์มาแล้ว ทุกคนคงจะรู้ดีเลยว่าการเต้นรำแบบลีลาศเหนื่อยเอาการทีเดียว ใช้ร่างกายเยอะมากกว่าจะเต้นจนจบเพลงได้ ดังนั้น ลีลาศจึงเป็นหนึ่งกลวิธีการออกกำลังกายในแบบที่ทำให้เพลิดเพลินไปในตัว เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างเสริมสุขภาพ และในขณะเดียวกันทุกลีลาท่วงท่าที่ก้าวไปหรือเต้นไปตามจังหวะนั้น จะเป็นการจัดการวางบุคลิกลักษณะร่างกายไปในตัว นั่นจึงเท่ากับว่าเป็นการช่วยเสริมสร้างบุคลิกและการจัดจัดระเบียบรูปร่างให้ดูสง่าไปในตัวอีกด้วย

อีกจุดหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยก็คือ อย่างที่ทราบกันกีฬาลีลาศนั้นมีจุดเริ่มต้นที่งานหรือกิจกรรมสังคม นับเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเวลาออกงานสังคมได้ และยังสร้างความโดดเด่นในช่วงเวลาดังกล่าวได้ด้วย ดังนั้น ใครที่เต้นลีลาศเป็นก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองบางขึ้นเวลาออกงานสังคมต่าง ๆ เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้ามไป

อดีตอันขมขื่นของกีฬาลีลาศ

ในวันนี้กีฬาลีลาศเป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศและระดับโลกแล้ว มีนักกีฬาของไทยเราก้าวเข้าไปสู่ระดับเอเชียแล้วก็มี แต่กว่ากีฬาลีลาศของไทยจะก้าวเข้ามาสู่ระดับความนิยมที่มีนักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้ ก็ต้องมีดราม่าฟันฝ่าอุปสรรคมาอย่างมากมาย เพราะในจุดเริ่มแรกก่อนที่จะมีการผลักดันให้ไทยเรามีองค์กรเกี่ยวกับกีฬาลีลาศ ก็ถูกตั้งแง่จากสังคมในหลายด้านว่า กีฬานี้เป็นงานกิจกรรมสังคมที่ไม่เป็นสาระ เป็นวัฒนธรรมของตะวันตกที่เรารับเขาเข้ามา ไม่เหมาะที่จะสนับสนุนเป็นกีฬา เพราะคิดว่าคงไม่มีนักกีฬารุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเล่นหรือเข้ามาฝึกซ้อมให้ความสนใจ จนเริ่มมีการถกเถียงและผลักดัน ให้มีการจัดประเภทว่าลีลาศเป็นลักษณะของกิจกรรมนาฏศิลป์สากลและลองให้มีการนำไปเปิดสอนเป็นหลักสูตรในสถานศึกษา ซึ่งปรากฏว่าคนรุ่นใหม่กลับชื่นชอบและหลงใหลในกีฬาชนิดนี้ไม่น้อย นั่นจึงทำให้หลายฝ่ายมองว่าควรมีการผลักดันให้ไปสู่การเป็นกีฬาสากลกันเสียที นั่นจึงทำให้เรามีนักกีฬาลีลาศชาวไทยออกไปแข่งขันในระดับประเทศอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นเอง

หากจะนับจำนวนนักกีฬาหรือผู้เล่นกีฬาลีลาศในเมืองไทย แน่นอนว่าคงมีจำนวนที่น้อยกว่าฟุตบอล บาสเกตบอล มวย หรือกีฬาอื่น ๆ อีกมาก แต่กีฬาชนิดนี้ก็ไม่ได้ด้อยในเรื่องความนิยมแต่อย่างใด เพราะคนที่หลงใหลและให้ความสำคัญกับกีฬานี้มีความเหนียวแน่นมาก คือ อายุในวงการยาวนานกว่ากีฬาอื่นมาก เพราะแม้จะไม่เป็นนักกีฬาแล้ว พวกเขาก็ยังคงสนับสนุนและอยู่เบื้องหลังวงการนี้เรื่อยมา ซึ่งแตกต่างจากกีฬาชนิด ๆ อื่น ๆ มากเลยทีเดียว

post

ใครสนใจอยากลองเล่นกีฬาลีลาศ ลองมาทำความรู้จักกับขอบเขตพื้นฐานกัน

ในปัจจุบันเราได้ทราบกันแล้วว่าลีลาศถือเป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดแข่งขันในระดับนานาชาติมาเนิ่นนานหลายปีแล้ว ซึ่งในประเทศไทยเราเองก็มีคนกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจ และมีเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมาฝึกซ้อมและเป็นนักกีฬาลงแข่งขันในนามประเทศไทยด้วยเช่นกัน ถ้าคุณสนใจหรือต้องการส่งเสริมให้ลูกหลานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกีฬาสากลนี้ เพื่อเสริมบุคลิกภาพรวมถึงปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตใจเป็นนักกีฬา สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยก็คือ ต้องรู้จักขอบเขตหรือกฎกติกาพื้นฐานของการเล่นลีลาศกันก่อนว่า เขาแข่งขันกันอย่างไรบ้าง ไปเริ่มต้นกันเลย

ลีลาศประเภทบอลรูม

กีฬาลีลาศในระดับสากลนั้นได้มีการกำหนดมาตรฐานประเภทของการเล่นกีฬาลีลาศไว้ 2 ประเภท ประเภทแรกก็คือ Ballroom Dancing หรือลีลาศแบบบอลรูม การแข่งลีลาศประเภทนี้ จะเป็นการแข่งขันเต้นรำกับเพลงที่มีจังหวะออกแนวนุ่มนวลสุภาพสวยงาม ซึ่งบทเพลง จังหวะของดนตรีและลีลาของการเต้นรำนั้นจะเน้นไปที่ความสวยงามและความสง่างามของท่าทาง ผู้แข่งขันจะต้องโชว์ท่วงท่าที่ดูสง่า ผึ่งผายหรือสะท้อนความมีบุคลิกภาพที่ดีออกมา การเต้นรำในประเภทนี้ จะนิยมการลากเท้าเลียดไปพื้น ไม่ใช้การก้าวย่ำ เดิมทีแล้ว การเต้นรำในลักษณะนี้จะเป็นวัฒนธรรมของชางอังกฤษ หลายคนจึงมักเรียกประเภทบอลรูมนี้ว่า ลีลาศสไตล์อังกฤษ ซึ่งการแข่งมักจะใช้จังหวะดนตรีมาตรฐานอยู่ 5 จังหวะดังนี้

  1. จังหวะ Waltz
  2. จังหวะ Quick Waltz หรือ Viennese Waltz
  3. จังหวะ Tango
  4. จังหวะ Foxtrot
  5. จังหวะ Quick Step

ลีลาศประเภทลาตินอเมริกา

ลีลาศประเภทต่อมาที่ได้รับการรับรองและจัดว่าเป็นมาตรฐานของการแข่งขันลีลาศอีกประเภทก็คือ Latin American Dancing หรือลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งประเภทนี้จะเป็นการแข่งขันเต้นในรูปแบบจังหวะสไตล์ลาตินที่ เน้นเรื่องของความเร็ว ความคล่องแคล่วของร่างกาย ซึ่งประเภทนี้จะใช้ร่างกายเยอะมากจะต้องเคลื่อนไหวหลายส่วน ตั้งแต่ส่วนคอ ไหล่ ไล่ไปยังสะโพก เข่า ข้อเท้า และเท้าที่จะต้องก้าวอย่างรวดเร็วและมั่นคง ซึ่งแบบนี้การก้าวเท้าในการเต้นจะเน้นในเรื่องการยกเท้าหรือยกเข่ามากขึ้น ซึ่งจังหวะที่ใช้ในการแข่งขันนั้นจะมีมากถึง 12 จังหวะดนตรี เช่น  Rock and Roll, Cha Cha Cha, Rumba, Beguine, Samba, Off – beat เป็นต้น นอกจากจังหวะดังที่กล่าวมานี้แล้ว ในปัจจุบันก็มีจังหวะเต้นรำใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ตามแนวทางการพัฒนาดนตรีตามยุคสมัยนิยม แต่แนวจังหวะดนตรีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ยังไม่จัดว่าเป็นจังหวะของการลีลาศ เพราะยังได้รับความนิยมกันเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ยังไม่เป็นสากลทั่วไป จึงยังไม่นับว่าเป็นการเต้นแบบลีลาศ

นี่คือขอบเขตพื้นฐานของการเต้นหรือการแข่งขันลีลาศในปัจจุบัน ที่จะแบ่งการแข่งและมาตรฐานการเล่นออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งสำหรับคนที่สนใจหรือต้องการให้เยาวชนมาลองเล่นดีก็ควรรู้จักในจุดนี้เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้ไปเล่นได้ถูกประเภท อันจะช่วยให้นักกีฬามีแนวทางและทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้นในการฝึกหัดนั่นเอง

post

ใครว่าลีลาศเป็นกีฬานอกกระแส แท้จริงกับเป็นกีฬาของชนชั้นนำที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

สำหรับกีฬาลีลาศแล้ว แน่นอนว่าอาจจะเทียบความนิยมกับกีฬาฟุตบอล มวย เทนนิส หรือวอลเลย์บอลไม่ได้เลย แต่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกีฬาลีลาศนั้นก็ไม่ได้ด้อยกว่าหลายชนิดกีฬาที่มีในประเทศไทยเลย และดีไม่ดีน่าจะมีความสำคัญมากกว่ากีฬายอดฮิตอย่างฟุตบอลเลยด้วยซ้ำไป แล้วลีลาศมีความสำคัญขนาดไหนสำหรับประเทศไทย มาดูกันเลย

ลีลาศมีความสำคัญด้านสันถวไมตรีกับต่างชาติ

การเต้นลีลาศในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดแน่นั้นปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันได้แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานกันว่า ลีลาศนั้นน่าจะเริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 และมาก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะมีบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากแหม่มแอนนา ถึงเรื่องนี้ไว้ประมาณว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั้น มีความสนพระทัยในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกและมีความสนพระทัยในเรื่องของการเต้นรำในแบบตะวันตกด้วย ครั้งหนึ่งพระองค์เคยถามแหม่มแอนนาถึงเรื่องนี้ และแหม่มแอนนาก็เลยได้อธิบายถึงเรื่องการเต้นรำแบบชาวยุโรป ว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของพระราชวงศ์ของอังกฤษ ขณะที่กล่าวถึงเรื่องนี้ แหม่มแอนนาก็ได้ทำท่าทางการเต้นรำให้พระองค์ดู ซึ่งพอรัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรพระองค์ก็ทรงไม่แสดงอาการอะไร แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่าทางการเต้นรำในจังหวะวอลซ์เท่านั้น รัชกาลที่ 4 ถึงกับเอ่ยพระโอษฐ์ว่า แหม่มแอนนายังวางตำแหน่งแขนในการเต้นไม่ถูก ตำแหน่งนั้นยังใกล้เกินไป แหม่มแอนนาถึงกับประหลาดใจว่าพระองค์ทรงรู้วิธีการเต้นรำแบบชาวตะวันตกนี้ได้อย่างไร ซึ่งแหม่มแอนนาได้สันนิษฐานเอาว่า รัชกาลที่ 4 ทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เองจากตำรับตำราของฝรั่งตะวันตกทั้งนี้ก็เพื่อการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อชาวตะวันตกที่กำลังเข้ามาในประเทศไทยนั่นเอง

แม้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 5 และ 6 การเต้นรำแบบลีลาศนั้นจะยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่สำหรับชนชั้นเจ้านาย ก็มักจะต้องได้รับการอบรมและเรียนรู้ด้วยกันแทบทุกคน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมสันถวไมตรีกับต่างชาติที่เข้ามาเป็นทูตเพื่อสานสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย แต่พอมาในรัชกาลที่ 7 การเต้นรำแบบลีลาศก็เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มบุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลาย เพราะชนชั้นนำของสังคมให้ความสำคัญ

ลีลาศเกิดขึ้น ซบเซาและเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง

ในช่วงตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – 6 เป็นต้นมานั้น ยังไม่มีคำเรียกการเต้นรำโดยเฉพาะ จนหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไปแล้วจึงมีผู้คิดค้นบัญญัติศัพท์คำว่า “ลีลาศ” ขึ้นมาใช้ ช่วงตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – 6 การเต้นรำแบบลีลาศนี้ก็ถือได้ว่าได้รับความนิยมไม่น้อย และมีทีว่าจะกระจายไปสู่ผู้คนที่เป็นราษฎรมากขึ้น แต่ทว่าสังครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นช่วงรัชกาลที่ 6 ทำให้ลีลาศเงียบหายไป พอสงครามสงบลีลาศก็กลับมาได้รับความสนใจ แต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 มาอีกครั้งการเต้นรำแบบลีลาศก็ถูกลืมเลือนไปอีก กว่าจะกลับมาได้อีกครั้งก็กลายเป็นสิ่งที่เหลือเพียงคนกลุ่มเดียวที่ยังคงรักษาไว้ไปแล้ว

การเดินทางของกีฬาลีลาศนั้นมีความผูกพันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของไทย ที่สำคัญนี่เป็นหนึ่งชนิดของกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงในวงสังคมของไทยในช่วงสมัยหนึ่ง แม้ในตอนนั้นยังไม่ได้เป็นกีฬาเต็มตัวก็ตาม ปัจจุบันลีลาศกลายเป็นกีฬาสากลไปแล้ว และในตอนนี้เริ่มมีคนรุ่นใหม่กลับมาให้ความสนใจอีกครั้งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้กีฬาชนิดนี้กลับมาคืนชีพด้วยความสง่างามอีกครั้ง

post

เรียนรู้กฎกติกาพื้นฐานก่อนเล่นฟุตซอล

หากจะกล่าวกันตามจริงแล้ว ในระดับบุคคลทั่วไป ฟุตซอลนับเป็นกีฬายอดนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย คนส่วนใหญ่เวลาไปรวมทีมเตะบอล ก็มักจะบอกว่าไปเตะฟุตบอล แต่จริง ๆ แล้วเวลาลงสนามจริงจะเป็นลักษณะของการเล่นฟุตซอล เพราะขนาดสนาม ขนาดของประตูรวมไปถึง จำนวนผู้เล่นในแต่ละฝั่งนั้นจะเป็นแบบฟุตซอล เพราะการจะเล่นเป็นแบบฟุตบอลเลยจริง ๆ นั้น สำหรับเมืองไทยเราแล้วมีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งเรื่องของจำนวนสนามที่มีน้อย และมักไม่ค่อยเปิดให้บุคคลภายนอกใช้ อีกทั้งบางทีจำนวนผู้เล่นของแต่ละทีมก็อาจไม่ถึง 11 คน ฟุตซอลจึงตอบโจทย์คนไทยมากกว่า ทีนี้ถ้าคุณอยากจะเอาดีหรือเล่นฟุตซอลกันอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ แล้ว เรื่องกฎกติกาของฟุตซอลก็เป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้เอาไว้ด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย

กติกาฟุตซอลในเรื่องของสนามและอุปกรณ์

  • ขนาดของสนาม – หากเป็นฟุตซอลระดับสมัครเล่น แบบที่เล่นกันเองทั่วไป มาตรฐานของสนามจะวัดแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านความยาวกำหนดไว้อยู่ที่ต่ำสุด 25 เมตร และสูงสุดจะต้องไม่เกิน 42 เมตร ด้านความกว้าง กำหนดไว้อยู่ที่ต่ำสุด 15 เมตร และสูงสุดจะต้องไม่เกิน 25 เมตร กรณีที่เป็นสนามสำหรับแข่งขันของนักกีฬาอาชีพระดับสากล ด้านความยาวกำหนดไว้อยู่ที่ต่ำสุด 38 เมตร และสูงสุดจะต้องไม่เกิน 42 เมตร ด้านความกว้าง กำหนดไว้อยู่ที่ต่ำสุด 18 เมตร และสูงสุดจะต้องไม่เกิน 22 เมตร
  • Goals – ในส่วนของประตูนั้น ความห่างของเสาประตูทั้งสองเสาจะต้องห่างกัน 3 เมตร และสูงจากพื้น 2 เมตร
  • ลูกบอล – ในฟุตซอลกำหนดขนาดของลูกบอลที่ใช้เล่นมาตรฐานว่าเส้นรอบวงของลูกบอลต้องไม่ต่ำกว่า 62 เซนติเมตร และต้องไม่เกิน 64 เซนติเมตร น้ำหนักก่อนแข่งลูกบอลต้องมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 400 กรัม และต้องไม่เกิน 440 กรัม ความดันลมของลูกบอลควรจะอยู่ที่ 0.4 – 0.6

กติกาฟุตซอลในเรื่องของผู้เล่น

  • จำนวนผู้เล่น – กติกาฟุตซอลมาตรฐานกำหนดให้ผู้เล่นแต่ละทีมต้องไม่เกิน 5 คน รวมผู้รักษาประตูแล้ว
  • การเปลี่ยนตัว – ฟุตซอลเป็นเกมเร็ว สนามเล็กกว่าจึงทำให้เกมมีการปะทะกันง่ายกว่า รวมถึงผู้เล่นต้องสปีดตัวเองตลอดด้วย จึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนตัวผู้เล่นบ่อย กติกาจึงอนุญาตให้แต่ละทีมมีผู้เล่นสำรองได้ถึง 7 คน แต่ต้องไม่เกิน 7  และสามารถที่จะเปลี่ยนตัวในเกมการแข่งขันได้ตลอดเวลา จะเปลี่ยนช่วงไหนของเกมก็ได้ แต่การจะให้ผู้เล่นใหม่เข้าไปเล่นในสนามได้ ผู้เล่นเก่าที่จะเปลี่ยนตัวออก จะต้องออกจากสนามโดยสมบูรณ์ก่อนเท่านั้น โดยเกมจะมีการหยุดเล่นเพื่อให้เปลี่ยนตัวได้สะดวกนั่นเอง

นี่คือกติกาพื้นฐานเบื้องต้นของกีฬาฟุตซอล ซึ่งเป็นกติกาหลัก ๆ ที่คนจะเล่นควรจะต้องรู้ไว้และปฏิบัติให้ถูก อย่างใครที่มีพื้นที่อยากจะเตรียมสนามฝึกซ้อมในการแข่งขันจะได้กำหนดพื้นขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมคร่าว ๆได้ หรือเรื่องของการเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะได้มีการเบรกเกมได้เป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน กฎหลัก ๆ แบบนี้รู้ไว้ไม่เสียหาย และจะดีต่อการเล่นด้วย และหากคุณไม่ถนัดลงไปเล่นเอง จะเลือกเป็นกองเชียร์ก็ต้องรู้กติกาเช่นกัน จะได้ดูสนุกขึ้น และหากมีการวางเดิมพันก็อาจจะอาศัยช่องตรงกติกานี้แหละ ที่จะทำให้คุณได้เปรียบขึ้น

post

ไม่ว่าจะฝึกเล่นหรือจะเชียร์แบบแฟนตัวยง จะสนุกขึ้นแน่ถ้าคุณรู้กติกาวอลเลย์บอลเบื้องต้น

ต้องยอมรับเลยว่าประมาณ 4 – 5 ปีที่ผ่านมานี้กระแสความนิยมกีฬาวอลเลย์บอลของไทยเราเพิ่มขึ้นมา ทั้งนี้ก็ต้องยกเครดิตให้กับทีมนักตบสาวไทยชุดใหญ่ รวมถึงทีมโค้ชมากความสามารถที่ช่วยให้ส่งให้กีฬาวอลเลย์บอลของไทยไปไกลในระดับเอเชีย และยังได้รับการจัดอันดับโลกทีน่าพอใจ ซึ่งต้องบอกเลยว่าตลอดเวลาที่กีฬาชนิดนี้มีมาในประเทศไทย ไม่มียุคไหนที่จะ “ปัง” เท่ายุคนี้อีกแล้ว นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในชุดปัจจุบันนี้สามารถสร้างกระแสความนิยมให้กับวอลเลย์บอลไทยได้มากจริง ๆ จนตอนนี้มีแฟนคลับมากมาย ใครที่ได้แรงบันดาลใจจากนักกีฬาเหล่านี้ รวมไปถึงต้องการเชียร์ทีมวอลเลย์บอลไทยให้สนุกขึ้นเวลาที่แข่งระดับนานาชาติ สิ่งสำคัญก็ควรจะต้องรู้กติกาพื้นฐาน เมื่อรู้กติกาก็จะฝึกเล่นได้ดี และดูได้อย่างเข้าใจมากขึ้น แล้วมีอะไรที่ต้องรู้บ้างไปดูกันเลย

กติกาวอลเลย์บอลส่วนของสนามและอุปกรณ์

วอลเลย์บอลแบบทีมใหญ่ที่ไม่ใช่วอลเลย์บอลชายหาด จะเล่นแบบอินดอร์กันอยู่แล้ว โดยมาตรฐานจะกำหนดขนาดสนามอยู่ที่ความกว้าง 9 เมตร และขนาดความยาวสนามอยู่ที่ 18 เมตร และจะต้องมีพื้นที่บริเวณรอบ ๆ สนามแข่งด้วย โดยพื้นที่โดยรอบจะต้องห่างจากส่วนที่ทำการแข่งขันประมาณ 2 เมตรเป็นอย่างน้อย และภายในสนามที่เป็นบริเวณแข่งขัน จะมีการตีเส้นแบ่งเขตพื้นที่เป็นส่วน ๆ ชัดเจน เช่น มีเส้น Zone lines ซึ่งแบ่งเขตที่จะทำการรุก เส้นเสิร์ฟ มีเขตสำหรับการเปลี่ยนตัว เป็นต้น ในส่วนของตาข่ายขนาดมาตรฐานจะอยู่ที่ความกว้าง  1 เมตรและยาว 9.5 เมตร ตาข่ายจะต้องขึงอยู่กึ่งกลางสนาม โดยความสูงของตาข่ายก็จะแตกต่างกันไประหว่างเพศชายกับหญิง ถ้าเป็นการแข่งของผู้ชายตาข่ายจะสูงห่างจากพื้น 2.43 เมตร ส่วนของนักกีฬาหญิงจะสูง 2.24 เมตร

ในส่วนของลูกวอลเลย์บอล กติกากำหนดให้ใช้ลูกบอลที่ด้านนอกทำด้วยหนังฟอก จะต้องมีเส้นรอบวงของลูกอยู่ที่ 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักของลูกบอลควรจะอยู่ที่ 260 – 270 กรัมไม่เกินนี้

กติกาวอลเลย์บอลในส่วนของผู้เล่น

จำนวนผู้เล่นกติกาวอลเลย์บอลมาตรฐานกำหนดให้ผู้เล่นแต่ละทีมต้องไม่เกิน 6 คน รวมผู้เล่นอิสระ 1 คนด้วย โดยกติกาปัจจุบันกำหนดให้แต่ละทีมนอกจากจะมีผู้เล่นแล้ว จะต้องมีผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยโค้ช 1 คน และแพทย์ประจำทีม 1 คนอยู่ในสนามด้วย สำหรับการเปลี่ยนตัวเกมจะกำหนดให้เปลี่ยนตัวได้ต่อเซ็ตไม่เกิน 6 ครั้ง โดยผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าไปต้องพร้อมมีการถือป้ายแจ้งหมายเลขที่อยู่บนเสื้อให้ชัดเจน และจะต้องยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัวด้วย ไม่เช่นนั้น กรรมการจะไม่ให้สิทธิ์ทีมในการเปลี่ยนตัว

นี่คือกติกาพื้นฐานเบื้องต้นของวอลเลย์บอล อีกหนึ่งกีฬายอดฮิตในยุคหลังของคนไทย  กติกาหลัก ๆ พื้นฐานเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้ทั้งการฝึกเล่นและการดูการเชียร์มีความสนุกขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ควรรู้ไว้ เชื่อว่าถ้ามีความรู้เบื้องต้นแบบนี้ไว้บ้างไม่ว่าจะเล่นหรือเชียร์ก็จะสนุกขึ้นอีกเป็นกองแน่นอน

post

ตะกร้อลอดห่วง กีฬาไทยสู่กีฬาสากลในอาเซียน

การเล่นกีฬาไม่ว่าจะเป็นแบบหมู่คณะเล่นเป็นทีม หรือเล่นแบบเดี่ยวก็ตาม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ประการแรกดีต่อสุขภาพร่างกายของผู้เล่น ประการต่อมาได้เพิ่มพูนทักษะการทำงานของร่างกายและสมอง ประการสุดท้ายยังได้เรื่องของความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและมิตรไมตรีจากผู้ที่ร่วมเล่นหรือคู่แข่งขันอีกด้วย ซึ่งหนึ่งชนิดกีฬาที่น่าสนใจเป็นกีฬาแบบไทย ๆ ที่ได้รับความสนใจในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศก็คือ “ตะกร้อลอดห่วง” ปัจจุบันเป็นหนึ่งในกีฬาสากลที่มีแข่งในระดับซีเกมส์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการผลักดันให้ไปสู่ระดับเอเชียนเกมส์กันด้วย ลองมาทำความรู้จักกับกีฬายอมนิยมของไทยและอาเซียนชนิดนี้กันให้มากขึ้นกันดีกว่า

ตะกร้อลอดห่วงกับกติกาพื้นฐานเรื่องสนามและอุกรณ์

การเล่นตะกร้อลอดห่วงนั้น จะต้องอาศัยสนามในการเล่น และจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเล่นด้วย ซึ่งหลัก ๆ แล้วที่เราต้องรู้ในเรื่องกติกาการเล่นจะมีอยู่ 3 ประการคือ

  1. สนามที่ใช้ในการเล่นตะกร้อลอดห่วง – ถ้าเป็นการเล่นในระดับสากลแล้ว ไม่ได้จำกัดว่าจะเล่นในร่มหรือกลางแจ้ง แต่พื้นสนามจะต้องเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ โดยพื้นที่กำหนดให้จะต้องมีรัศมีวงกลมอยู่ที่ 4  เมตรและความกว้างของเส้นวงกลมจะอยู่ที่ 4 เซนติเมตร
  2. ห่วงชัย – ถ้าเทียบกับฟุตบอลแล้ว ห่วงชัยก็คือประตูที่จะต้องยิงลูกเข้าไปนั่นเอง โดยในตะกร้อลอดห่วงกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า จะใช้ 3 ห่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ทั้ง 3 ห่วงต้องมีการเชื่อมเข้าหากัน และจะต้องมีถุงตาข่าย ซึ่งห่วงชัยนี้จะต้องแขวนอยู่ที่กลางสนามแข่งขัน โดยสูงจากพื้นขึ้นมา 4.75  เมตรสำหรับการแข่งขันของผู้ชาย และ 4.50  เมตร สำหรับการแข่งขันของผู้หญิง
  3. ลูกตะกร้อ – จะใช้ลูกหวายหรือลูกใยสังเคราะห์ก็ได้ แต่กรณีที่เป็นลูกใยสังเคราะห์จะต้องเป็นชนิดที่มีรู 12 รู และ 20 จุดที่ตัดไขว้กัน

กติกาในส่วนของผู้เล่น

ตะกร้อลอดห่วงที่เล่นแข่งขันกันเป็นกีฬาแบบสากลนั้น จะกำหนดให้เล่นเป็นทีม โดย 1 ทีมจะต้องมีผู้เล่นจริง 5 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน การเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้น สามารถเปลี่ยนระหว่างเกมได้ ส่วนการนับแต้มคะแนนว่าใครทำคะแนนได้เท่าไหร่ ก็จะเป็นการนับคะแนนต่อจากผู้ที่ถูกเปลี่ยนออก ส่วนตัวผู้เล่นก็จะต้องสวมชุดสำหรับการเล่นตะกร้อคือ มีเสื้อยืด จะคอปกหรือคอกลมก็ได้ และที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อจะต้องมีเลขกำกับ เพื่อใช้เป็นหมายเลขประจำตัว สวมกางเกงขาสั้น สวมถุงเท้า รองเท้าผ้าใบพื้นยางไม่มีส้น และในการแข่งขันจริง ทีมแต่ละทีมที่จะลงแข่งกันจะต้องใส่เสื้อสีไม่เหมือนกันด้วย เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และง่ายต่อการต่อการตัดสินนั่นเอง

ทั้งหมดนี้ก็คือกฎกติกาพื้นฐานของตะกร้อลอดห่วง หนึ่งในกีฬาพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในท้องถิ่นของไทย และได้รับความนิยมในระดับภูมิภาคด้วย ซึ่งการได้เข้าไปเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาในระดับซีเกมส์ก็คงเป็นเครื่องยืนยันได้แล้วว่ากีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมมากขนาดไหน ใครสนใจก็ลองศึกษากติกาพื้นฐานเหล่านี้และลองฝึกเล่นดู แล้วคุณจะรู้ว่าเล่นแล้วก็เพลินไม่น้อยเลย